รู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการปลูก วิธีปลูกกัญชาIN Door
วิธีปลูกกัญชาIN Door การปลูกกัญชาในบ้านมีประโยชน์มากมาย ประการแรก ช่วยให้คุณควบคุมสภาพแวดล้อมและปรับสภาพให้เหมาะสมสำหรับต้นพืชของคุณ สิ่งนี้สามารถส่งผลให้ผลผลิตสูงขึ้นและตาดอกที่มีคุณภาพสูงขึ้น การปลูกในร่มยังช่วยให้คุณปลอดภัยมากขึ้นและปกป้องพืชของคุณจากศัตรูพืชและปัญหาอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นเมื่อปลูกกลางแจ้งคู่มือนี้ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับผู้เริ่มต้นที่ยังใหม่กับการปลูกกัญชา เราจะอธิบายขั้นตอนสำคัญทั้งหมด รวมถึงเคล็ดลับและแหล่งข้อมูลมากมายเพื่อช่วยให้คุณประสบความสำเร็จวิธีปลูกกัญชาในร่มให้ดอกสวยงาม
การเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสม วิธีปลูกกัญชาIN Door
การตัดสินใจที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งเมื่อปลูกกัญชาคือการเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสม วิธีปลูกกัญชาในร่มผลผลิตเยอะ สายพันธุ์ต่าง ๆ มีลักษณะแตกต่างกัน เช่น ผลผลิต เวลาออกดอก และผลที่ต้องการ บางสายพันธุ์เหมาะสำหรับการปลูกในร่มมากกว่าสายพันธุ์อื่น ดังนั้นการศึกษาข้อมูลและเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับลักษณะที่คุณต้องการจึงเป็นเรื่องสำคัญหากต้องการค้นหาธนาคารเมล็ดพันธุ์ที่มีชื่อเสียงหรือซื้อโคลน คุณอาจต้องการขอคำแนะนำจากผู้ปลูกรายอื่นหรือไปที่ฟอรัมออนไลน์และกลุ่มสนทนา นอกจากนี้ คุณควรอ่านบทวิจารณ์และค้นคว้าข้อมูลของคุณเองเพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้รับเมล็ดพันธุ์หรือโคลนคุณภาพสูง
วิธีปลูกกัญชาIN Doorการจัดพื้นที่เพาะปลูกของคุณ
วิธีปลูกกัญชาในร่มใช้อะไรบ้างเมื่อคุณเลือกสายพันธุ์ได้แล้ว ก็ถึงเวลาจัดพื้นที่เพาะปลูกของคุณ ห้องปลูกพืชเป็นเพียงพื้นที่ที่คุณจะปลูกพืชกัญชาของคุณ อาจเป็นห้องว่างในบ้าน ตู้เสื้อผ้า หรือแม้แต่เต็นท์
มีอุปกรณ์สำคัญสองสามชิ้นที่คุณจะต้องใช้ในการจัดพื้นที่เพาะปลูกของคุณ ประกอบด้วย:
แสงไฟสำหรับปลูกกัญชา
การปลูกแบบ Indoor นั้นจะต้องมีการให้ไฟเพื่อทดแทนแสงจากดวงอาทิตย์ เพื่อการเจริญเติบโตของต้นกัญชา ชนิดของไฟนั้นมีอยู่ 3 แบบหลัก ๆ ที่ใช้ในการปลูกแบบ Indoor เช่น CFLs (Compact Fluorescent lights) , LED และ HID (High Intensity Discharge)
อันที่จริงการเลือกใช้ไฟควรดูค่า ppfd กับ umol/j เป็นหลัก แต่ไฟบ้าน ๆ ไม่ค่อยเห็นบอกไว้ ถ้าให้แนะนำแบบบ้าน ๆ ก็ดูอุณภูมิสีหลอดไฟ
4000-6000k (ใช้ช่วงต้นอ่อนถึงทำใบ)
2700k-3000k(ช่วงทำดอก)
3200k-3500k(ปลูกได้ทุกช่วง)
ส่วน watt ที่ต้องใช้ต่อ 1 ต้นจนจบงานก็ประมาณ 150w + ทั้งนี้ปริมาณและคุณภาพผลผลิตก็จะได้ตามวัสดุที่ผู้ปลูกใช้ อยากจบสวยก็ต้องลงทุนระดับหนึ่ง เอาตามสะดวกของผู้ปลูกแต่ละท่าน
เทคนิคการให้แสงเบื้องต้น
เทคนิคที่ 1
ช่วงทำใบ 14-20 ชม. ต่อวัน
ช่วงทำดอก 8-12 ชม. ต่อวัน
เทคนิคที่ 2
ช่วงทำใบ 18/6( สว่าง 18 มืด 6 ) ชม.
ช่วงทำดอกก 12/12 (สว่าง 12 มืด 12 ) ชม.
แสงสีน้ำเงินทำใบ แสงสีแดงทำดอก (แต่สามารถเปิดทั้งสองได้เพื่อให้ต้นกัญชาเติบโตได้ดี)
ระยะความห่างไฟ:
อนุบาล 60cm 45-50cm
(ทำใบ) 35-40cm
(ทำดอก) (ไม่ตายตัว)
การควบคุมความชื้นเบื้องต้น
ความชื้น : Humidity
ช่วงทำใบ : 40-60%
ช่วงทำดอก : 40-50%
สัปดาห์เก็บเกี่ยว : ตํ่ากว่า 40% (เร่งระบายอากาศ ลดความชื้น)
การระบายอากาศ: การระบายอากาศที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้พืชของคุณแข็งแรงและป้องกันปัญหาต่างๆ เช่น แมลงศัตรูพืช เชื้อรา และความเครียดจากความร้อน คุณจะต้องตั้งค่าระบบระบายอากาศเพื่อขจัดความร้อนและความชื้นส่วนเกินและนำอากาศบริสุทธิ์เข้ามา
ลำต้น เปลือก แกน มีประโยชน์อย่างไร?
ในส่วนของลำต้น เปลือกกัญชา และแกนกัญชา รวมถึงเส้นใยแห้งในลำต้น สามารถนำไปทำเครื่องนุ่งห่มได้หลากหลายชนิด รวมถึงการนำไปทำกระดาษ หรือเชือกไฟเบอร์ก็สามารถทำได้ ไม่ว่าจะเป็นงานเกี่ยวกับสิ่งทอต่างๆ ต้นกัญชาก็ถูกนำไปใช้ประโยชน์สำหรับอุตสาหกรรมเหล่านี้ได้ทุกสัดส่วน หากมีการนำไปใช้ให้ถูกที่ถูกทาง เชื่อว่าการปลูกกัญชาก็สามารถกลายเป็นอาชีพให้กับเกษตรกรได้อย่างมาก จนทำให้เกิดรายได้เข้าสู่ชุมชนและครอบครัวเพียงแค่ว่าก่อนที่จะมีการลงทุนใดๆ ควรศึกษาวิธีการปลูก การดูแล รวมถึงแหล่งจำหน่ายให้ครบถ้วนก่อน หลังจากทีสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว ทุกคนจะได้ไม่มีอุปสรรคอะไรมาขวางทางในการสร้างรายได้กับพืชเกษตรตัวใหม่นี้ ข่าวสารกัญชาพันธุ์ไทย
เมล็ดพันธุ์กัญชาพันธุ์ตะนาวศรีก้านแดง
- เป็นกัญชาพันธุ์ที่ให้สาร CBD สูง
- เหมาะสำหรับนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และสาธารณสุข
- สามารถนำไปใช้ต่อยอดเชิงเศรษฐกิจในด้านอื่นๆ
- มีลักษณะของช่อดอกที่คล้ายกับพันธุ์ตะนาวศรีก้านขาว
- แต่จะต่างกันคือมีสีแดงที่กิ่ง ก้าน และใบ ไม่มีกลิ่นฉุน มีกลิ่นหอมคล้ายผลไม้สุก
4 พันธุ์กัญชาไทยแท้ เฉพาะถิ่นหายาก จุดเด่น THC และ CBD สูง
- ตะนาวศรีก้านขาว
ช่อดอกเป็นกระจุกแน่นที่ปลายกิ่ง มีช่อดอกจำนวนมาก มีทรงต้นที่เป็นพุ่ม และมีกลิ่นที่เฉพาะตัว หอมคล้ายเปลือกส้มผสมกลิ่นตะไคร้ มีกลิ่นฉุนน้อยกว่าพันธุ์หางเสือ
- ตะนาวศรีก้านแดง
ช่อดอกจำนวนมากเช่นเดียวกับพันธุ์ตะนาวศรีก้านขาว แต่มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างคือ มีสีแดงที่กิ่ง ก้าน และก้านใบ มีกลิ่นหอมหวานคล้ายกลิ่นผลไม้สุกและไม่มีกลิ่นฉุน
- หางเสือ
ช่อดอกยาว เป็นพวงยาวคล้ายหางเสือ มีกลิ่นเฉพาะตัวหอมคล้ายเปลือกส้ม และมีกลิ่นฉุนเล็กน้อย
- หางกระรอก
เป็นที่รู้จักคือ “ไทยสติ๊ก (Thai Stick)” เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่ดีสุดในโลก เพราะมีค่า THC (Tetrahydrocannabinol) หรือสารที่ทำให้เคลิ้ม และนิยมใช้ในการรักษาอยู่ในระดับที่สูงมาก ราว ๆ 18-22 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว
ข้อดี ข้อเสียของกัญชา
ข้อดีของกัญชา
- หากคุณกำลังเบื่ออาหาร มีความอยากอาหารน้อยลง การรับประทานกันชาสามารถช่วยให้คุณมีความอยากอาหารมากขึ้น
- รู้สึกไม่สบาย มีอาการวิงเวียนหัวคลื่นไส้อาเจียน การรับประทานกันชาสามารถบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน
- ในใบกัญชามีสาร Cannabinoids หากผู้ที่มีอาการซึมเศร้าได้สารรับตัวนี้ สามารถลดพฤติกรรมรุนแรงทางด้านอารมณ์ลงได้
- ในงานวิจัยได้ค้นพบว่า สาร THC ที่อยู่ในใบกัญชาสามารถป้องกันโรคอัลไซเมอร์
- กัญชาทำให้เนื้องอกเนื้อร้ายอย่างมะเร็งหดเหี่ยวลดลงได้
- ผู้ที่นอนไม่ค่อยหลับ การรับประทานกัญชาจะช่วยให้คุณหลับสบายมากขึ้น
ข้อเสียของกัญชา
- เนื่องจากกัญชามีฤทธิ์กระตุ้นประสาท หากผู้เสพใช้ในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้ผู้เสพมีอาการมึนเมาคล้ายเหล้า เห็นภาพหล่อน หูแวว หวาดระแวง ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
- ผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต ไม่ควรเสพกัญชา เพราะจะส่งผลให้เกิดความสับสน วิตกกังวล สมาธิสั้น จนถึงขั้นเสียการทรงตัว
- การเสพกัญชาในปริมาณและติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้ร่างกายของคุณเสื่อมโทรมและอาจก่อให้เกิดโรคได้ง่ายขึ้น เช่น โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง น้ำหนักตัวลดลง ซูบผอม
- กัญชายังทำให้ปริมาณอสุจิในเพศชายลดน้อยลง เพราะมีฤทธิ์ที่ส่งผลต่อฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนของเพศชาย
- การสูบกัญชาในปริมาณ 4 ม้วน เทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ 1 ซอง และยังมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้มากกว่าคนสูบบุหรี่สูงถึง 5 เท่า
กัญชาเป็นยารักษาโรค/ภาวะอาการที่สามารถใช้ยากัญชาได้
6 โรค/ภาวะอาการ ที่สารกัญชาได้ประโยชน์ในการรักษา โดยมีข้อมูลวิชาการสบับสนุนชัดเจน ภาวะคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด
- โรคลมชักที่รักษายาก และโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษา
- ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง ในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
- ภาวะเบื่ออาหารในผู้ป่วย AIDS ที่มีน้ำหนักน้อย
- การเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง หรือผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิต
4 กลุ่มโรค / ภาวะ ที่น่าจะได้รับประโยชน์จากสารกัญชา แต่ยังต้องการงานวิจัยสนับสนุนเพิ่มเติม
- โรคพาร์กินสัน
- โรคอัลไซเมอร์
- โรคปลอกประสาทอักเสบอื่น ๆ (ที่ไม่ใช่ปลอกประสาทเสื่อมแข็ง)
- โรคอื่น ๆ ที่มีข้อมูลสนับสนุนทางวิชาการว่าน่าจะได้ประโยชน์
คนที่ไม่สามารถใช้ยากัญชาได้
- กำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร
- มีความเสี่ยงสูงในการทำร้ายตนเอง
- โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว โรคจิตจากสารเสพติด โรคจิตเภท
- รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด
- โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคตับ โรคไต ที่มีอาการรุนแรง
- มีประวัติแพ้สารสกัดกัญชา
เว็บข่าวกัญชา :: weedbong420.com