สาระน่ารู้เกี่ยวกับกัญชา สายพันธุ์ “กัญชา”

สาระน่ารู้เกี่ยวกับ กัญชา_H1

สาระน่ารู้เกี่ยวกับกัญชา โดยทั่วไปแล้วสายพันธุ์กัญชามี 3 สายพันธุ์หลักๆ ที่รู้จักกันทั่วโลกคือ sativa (ซาติวา) indica (อินดิกา) และ ruderalis (รูเดอราลิส) นอกเหนือจากนี้จะเป็นลูกผสมที่เกิดขึ้นจากทั้ง 3 สายพันธุ์เรียกกันว่า Hybrid ซึ่งทั้ง 3 สายพันธุ์มีลักษณะแตกต่างกันคือ

Cannabis sativa ลำต้นตั้งตรง ใบประกอบแบบรูปมือ มีใบย่อย 5-8 ใบ ใบเรียวยาว ขอบใบจักฟันเลื่อย ออกดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น ต้นสูงได้มากถึง 6 เมตร แต่ออกดอกน้อยกว่ากัญชาชนิดอื่น พร้อมเก็บเกี่ยว 9-16 สัปดาห์ เหมาะที่จะปลูกในพื้นที่แดดแรง อากาศร้อน แถบเส้นศูนย์สูตรอย่างเมืองไทย มีสาร THC (Tetrahydrocannabinol) ที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท (Psychoactive) สูง จึงนิยมใช้เพื่อการสันทนาการ เพิ่มความอยากอาหาร ลดอาการซึมเศร้า และช่วยบรรเทาไมเกรน แต่ผลข้างเคียงคือ อาจมีอาการคลื่นไส้

Cannabis indica ใบประกอบแบบรูปมือ มีใบย่อย 5-8 ใบ ทรงพุ่มเตี้ย 180 เซนติเมตร ใบกว้างและสีเข้มกว่า sativa ใช้เป็นสัญลักษณ์ของใบกัญชาที่เห็นกันทั่วไป ออกดอกปริมาณมาก ระยะเวลาการเติบโตพร้อมเก็บเกี่ยว 6-8 สัปดาห์ ชอบที่ร่มและอากาศเย็น อินดิกามีสาร CBD (Cannabidiol) ซึ่งออกฤทธิ์ระงับประสาท (Sedative) ทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ลดอาการปวดเรื้อรัง จึงนิยมใช้กันในทางการแพทย์ ช่วยให้ผ่อนคลาย ระงับอาการปวด รักษาโรคนอนไม่หลับ โรคซึมเศร้า และโรคกล้ามเนื้อกระตุก เป็นต้น มีผลข้างเคียงค่อนข้างน้อย

Cannabis ruderalis ลักษณะพิเศษคือใบมีสามแฉกและขนาดเล็กกว่าชนิดอื่น มีลำต้นเตี้ย เติบโตเร็ว อยู่ได้ทั้งอากาศร้อนและเย็น มีสาร THC น้อยแต่มี CBD สูง มักนำไปผสมข้ามสายพันธุ์ (Hybrid)

ซาติวา และอินดิกา จัดอยู่ในกลุ่ม Photoperiod (โฟโต้พีเรียด) อ่อนไหวง่ายกับแสง จะเติบโตตามชั่วโมงแสง เมื่อโตเต็มที่แล้วลดชั่วโมงแสงจึงจะออกดอก ขยายพันธุ์โดยการชำกิ่งได้ ต่างจากกลุ่ม Auto flowering (ออโต้ฟลาวเวอริ่ง) ที่เป็นลูกผสมของรูเดอราลิสกับซาติวาหรืออินดิกา จะออกดอกได้เร็วเพียง 10 สัปดาห์ แต่ต้องปลูกจากเมล็ดเท่านั้น

สาระน่ารู้เกี่ยวกับกัญชา การพัฒนาสายพันธุ์ทำอย่างไร

จากที่กล่าวว่า สามารถผสมสายพันธุ์ได้ ก็เพราะว่ากัญชา ก็เหมือนมนุษย์ มีผู้หญิง ผู้ชาย หรือเรียกกันว่าต้นตัวผู้ ต้นตัวเมีย และดูอย่างไรว่าเป็นเพศไหน ถ้าเป็นเพศเมียจะมีดอกแหลมๆ เกสรตัวเมียสองเส้น ช่วงเวลาที่จะแสดงเพศจะออกตามปล้อง ก่อนที่จะเป็นช่อใหญ่ ส่วนตัวผู้จะเป็นไข่กลมๆ เมื่อตัวผู้ที่โตแล้ว จะมีดอกใหญ่ๆ ขึ้นเป็นช่อ เมื่อแสดงเพศแล้ว รู้ว่าเป็นเพศผู้ให้ตัดทิ้ง ทำไมต้องตัดทิ้ง เพราะถ้าได้เมล็ด เมล็ดนั้นอาจทำให้สายพันธุ์นั้นเปลี่ยนแปลงไป นอกจากจะมีเพศผู้และเพศเมียแล้ว มีเพศกะเทย (Banana) อีกด้วย จะมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมียโผล่ออกมา ถ้าเอาไปผสมก็จะลดสารลงเหมือนกัน กัญชาแต่ละต้นแต่ละสายพันธุ์กินน้ำไม่เท่ากัน กินปุ๋ยไม่เท่ากัน มีสีดอกที่ไม่เหมือนกัน ในห้องวิจัย ปลูกครั้งแรก 47 สายพันธุ์ 82 ต้น พื้นที่ปลูก 6 x 7 ต้องเดินตรวจสอบทุกวัน ต้องสังเกตมากกว่าปกติ เพราะเราไม่มีความรู้ในการปลูก

สาระน่ารู้เกี่ยวกับกัญชากับกัญชง ความแตกต่างทั้ง 2 สายพันธุ์

ต่างกันเพียงแค่ปริมาณสาร THC กัญชง ไม่สามารถดูที่ใบได้ ใบจะบอกแค่ว่าเป็น ซาติกา หรืออินดิกาเท่านั้น แต่สิ่งที่กฎหมายกำหนด คือ ถ้า THC ไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ เป็นกัญชง ถ้าเกิน 1 เปอร์เซ็นต์ เป็นกัญชา สาระน่ารู้เกี่ยวกับกัญชากับกัญชง กัญชงแบบไหนบ้างที่สามารถปลูกได้ ในประเทศมี 3 ประเภท คือ กัญชงที่ปลูกไว้เอาช่อดอก CBD ต่อมาคือกัญชงที่จะเอาเมล็ดมาบีบเอาน้ำมัน สุดท้าย ประเภทไฟเบอร์ ใช้เอาใบกิ่งก้าน อย. บอกว่า ห้ามปลูกกัญชงกับกัญชา ในรัศมี 10 กิโลเมตร เพราะว่า แบบที่เอาเมล็ดต้องมีตัวผู้ แบบที่เอาเส้นใยเขาก็ไม่ได้ดูตัวผู้ ตัวเมีย เพราะมันมีตัวผู้แน่นอน และขนาดเกสร ที่ขนาด 24 ไมครอน ของตัวผู้ มันจะปลิวไปไกลได้ประมาณ 10 กิโลเมตร

การปลูกกัญชง อย. บอกว่า สามารถเลือกปลูกได้ 6 แบบ คือ

  • ปลูกเพื่อประโยชน์ของหน่วยงานรัฐ
  • ปลูกเพื่อประโยชน์ของหน่วยงานรัฐ
  • ปลูกเพื่อตามประเพณี
  • ปลูกเพื่อเชิงพาณิชย์
  • ปลูกเพื่อการแพทย์
  • ปลูกเพื่อการศึกษา
  • ปลูกเพื่อพัฒนาเมล็ดพันธุ์รับรอง

ส่วนต่าง ๆของลำต้นและใบมีประโยชน์อีกมากมาย

ประโยชน์ของต้นกัญชา
  1. สร้างสายพันธุ์ใหม่ หรือรักษาสายพันธุ์เดิมเอาไว้

การผสมพันธุ์ต้องใช้เกสรจากกัญชาตัวผู้ โดยเกสรเดินทางโดยลมเพื่อไปยังกัญชาตัวเมียตามธรรมชาติ บางคนตัดกัญชาเพศผู้ แยกเกสรตัวผู้ออกแล้วทำการผสมเกสรกับกัญชาตัวเมียที่อยากได้เพื่อสร้างสายพันธุ์ใหม่หรือ รักษาสายพันธุ์เดิมเอาไว้

  1. ทำยาสารสกัด

กัญชาตัวผู้ไม่มีสาร THC ดังนั้นไม่สามารถทำให้เกิดฤทธิ์ทางจิตประสาทหรืออาการเคลิบเคลิ้ม มึนเมาได้ โดยกัญชาตัวผู้ ยังมีสารแคนนาบินอยด์ตัวอื่นอย่างสาร CBD หรือ CBN อยู่ด้วย ซึ่งมีคุณสมบัติในการเป็นยารักษาโดยไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางประสาทและอารมณ์

  1. ใช้รากเพื่อทำยา

รากก็เหมือนเมล็ดที่มีคุณสมบัติการรักษาที่เหมาะสมกับร่างกายมนุษย์ โดยมีสาร THC น้อยกว่า 1% ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องอาการเคลิบเคลิ้ม มึนเมา ด้วยสารคุณสมบัติต่างๆ อย่างเพนต้าไซคลิก ไตรเทอร์พีน สารฟริเดลีน และสารอิพฟรี เดลานอล ที่มีประโยชน์ต่อตับ อีกทั้งยับยั้งการเติบโตของเนื้องอกและทำหน้าที่ต้านอาการอักเสบของตับ

  1. ใช้ทำน้ำกัญชา

น้ำกัญชาเป็นวิธีการบริโภคกัญชาตัวผู้ที่ได้รับความนิยมในช่วงปี 2010 ซึ่งมักนำมาใช้โดยผู้ป่วยในการลดกลุ่มอาการป่วยหรือการรักษาที่พวกเขาเผชิญอยู่ ทว่าการบริโภควิธีนี้ทำให้ได้รับสารแคนนาบินอยด์ในรูปแบบที่บริสุทธิ์ที่สุด ปราศจากการเผาไหม้หรือสกัด โดยน้ำกัญชาสามารถรับประทานในชีวิตประจำวัน เพื่อควบคุมระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์

ข้อดี ข้อเสียของกัญชา

ข้อดีของกัญชา

  1. หากคุณกำลังเบื่ออาหาร มีความอยากอาหารน้อยลง การรับประทานกันชาสามารถช่วยให้คุณมีความอยากอาหารมากขึ้น
  2. รู้สึกไม่สบาย มีอาการวิงเวียนหัวคลื่นไส้อาเจียน การรับประทานกันชาสามารถบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน
  3. ในใบกัญชามีสาร Cannabinoids หากผู้ที่มีอาการซึมเศร้าได้สารรับตัวนี้ สามารถลดพฤติกรรมรุนแรงทางด้านอารมณ์ลงได้
  4. ในงานวิจัยได้ค้นพบว่า สาร THC ที่อยู่ในใบกัญชาสามารถป้องกันโรคอัลไซเมอร์
  5. กัญชาทำให้เนื้องอกเนื้อร้ายอย่างมะเร็งหดเหี่ยวลดลงได้
  6. ผู้ที่นอนไม่ค่อยหลับ การรับประทานกัญชาจะช่วยให้คุณหลับสบายมากขึ้น

ข้อเสียของกัญชา

  1. เนื่องจากกัญชามีฤทธิ์กระตุ้นประสาท หากผู้เสพใช้ในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้ผู้เสพมีอาการมึนเมาคล้ายเหล้า เห็นภาพหล่อน หูแวว หวาดระแวง ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
  2. ผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต ไม่ควรเสพกัญชา เพราะจะส่งผลให้เกิดความสับสน วิตกกังวล สมาธิสั้น จนถึงขั้นเสียการทรงตัว
  3. การเสพกัญชาในปริมาณและติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้ร่างกายของคุณเสื่อมโทรมและอาจก่อให้เกิดโรคได้ง่ายขึ้น เช่น โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง น้ำหนักตัวลดลง ซูบผอม
  4. กัญชายังทำให้ปริมาณอสุจิในเพศชายลดน้อยลง เพราะมีฤทธิ์ที่ส่งผลต่อฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนของเพศชาย
  5. การสูบกัญชาในปริมาณ 4 ม้วน เทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ 1 ซอง และยังมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้มากกว่าคนสูบบุหรี่สูงถึง 5 เท่า
กัญชาเป็นยารักษาโรค/ภาวะอาการที่สามารถใช้ยากัญชาได้

6 โรค/ภาวะอาการ ที่สารกัญชาได้ประโยชน์ในการรักษา โดยมีข้อมูลวิชาการสบับสนุนชัดเจน ภาวะคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด

  • โรคลมชักที่รักษายาก และโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษา
  • ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง ในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
  • ภาวะเบื่ออาหารในผู้ป่วย AIDS ที่มีน้ำหนักน้อย
  • การเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง หรือผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิต

4 กลุ่มโรค / ภาวะ ที่น่าจะได้รับประโยชน์จากสารกัญชา แต่ยังต้องการงานวิจัยสนับสนุนเพิ่มเติม

  • โรคพาร์กินสัน
  • โรคอัลไซเมอร์
  • โรคปลอกประสาทอักเสบอื่น ๆ (ที่ไม่ใช่ปลอกประสาทเสื่อมแข็ง)
  • โรคอื่น ๆ ที่มีข้อมูลสนับสนุนทางวิชาการว่าน่าจะได้ประโยชน์
คนที่ไม่สามารถใช้ยากัญชาได้
  • กำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร
  • มีความเสี่ยงสูงในการทำร้ายตนเอง
  • โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว โรคจิตจากสารเสพติด โรคจิตเภท
  • รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคตับ โรคไต ที่มีอาการรุนแรง
  • มีประวัติแพ้สารสกัดกัญชา

เว็บข่าวกัญชา :: weedbong420.com

เว็บไซต์แฟนเพจสนุก :: Weedzbong420